บทความที่แล้วเราพาไปดูเรื่อง VPS คืออะไร ในบทความนี้เราจะพาไปติดตั้ง VPS กันบน Vultr ด้วย Windows Server 2019 กันครับ ซึ่งมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก
ทำไมถึงต้องใช้ Windows Server 2019 แทนการใช้ Windows 7 หรือ Windows 10 เหตุผลง่าย ๆ เลยครับ เพราะ Windows Server ถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมงและสามารถใช้งานได้หนักหน่วงกว่า Windows แบบปกติ ซึ่งถ้าเราต้องรัน EA ตลอด อาการจอฟ้า หรือเครื่องดับจะเกิดขึ้นน้อยกว่า Windows ทั่วไปมากครับ และความปลอดภัยของ Windows Server ก็ค่อนข้างมากกว่าพอสมควร เราแทบไม่ต้อง Config อะไรให้ยุ่งยากมาก เพราะเค้าทำมาให้แทบจะทั้งหมดแล้วครับ แต่ข้อเสียหลัก ๆ ของ Windows Server คือมันจะกินทรัพยากรค่อนข้างสูง เพราะงั้นเราอาจจะต้องเลือกสเปก VPS Forex ที่เยอะกว่าปกตินิดหน่อย
วิธีติดตั้ง VPS บน Vultr ด้วย Windows Server 2019
- ขั้นตอนแรกให้เราสมัครสมาชิกกันก่อนเลยครับ โดยคลิกที่ลิงค์นี้ได้เลยครับ : www.vultr.com วิธีการสมัครนั้นค่อนข้างง่ายมาก ๆ ครับ ให้เราทำตามขั้นตอนของ Vultr ได้เลยครับ จำเป็นต้องใช้บัตรเดบิต/เครดิตด้วยนะครับ ขั้นต่ำ $5
- เมื่อสมัครเสร็จเรียบร้อยแล้วให้มาที่เมนู Products แล้วเลือกที่แถบ ISOs จากนั้นกดปุ่ม + กลม ๆ สีฟ้าแล้วเลือก Add ISO แล้วจากนั้นใส่ลิงค์ Windows Server 2019 ลงไป โดยใช้ลิงค์นี้ https://www.dropbox.com/s/35wyojwjkrzc3ca/server2019.iso
3. รอจนขึ้นสถานะว่า Avaliable จึงจะสามารถใช้งานได้
4. จากนั้นมาที่แถบ Instances เพื่อสร้าง Server โดยกดที่ปุ่ม + สีฟ้า ๆ
5. เลือกประเภทของ VPS โดยในที่นี้เราจะเลือกที่ Cloud Compute
6. เลือก Location ของ VPS ของเราครับ ให้เลือกตามความเหมาะสม เทคนิคในการเลือกคือ เลือกให้อยู่ใกล้กับ Server ของ Brokers ดีที่สุดครับ
7. ตรง Server Type ให้เรากดที่แถบ Upload ISO จากนั้นเลือก Windows Server ที่เราได้ทำการ Add ไว้ตั้งแต่ขั้นตอนแรก ๆ
8. เลือกขนาดของ Server ในตรงนี้หากเราใช้ MT4 แค่ Brokers เดียวหรือเปิดแค่โปรแกรมเดียวใช้แค่ขั้นต่ำ $5/เดือน ก็เพียงพอแล้วครับ แต่หากใครต้องการเปิดมากกว่านี้ $10 สามารถเปิด MT4 ได้ 3-4 เลยครับ เมื่อเลือกเสร็จแล้วให้ตั้งชื่อของ Server จากนั้นกด Deploy Now แล้วรอสักแปปนึง
9. เมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้วจะมายังหน้า VPS ของเราหลังจากนี้จะเป็นการติดตั้ง Windows Server ให้เรากดที่ View Console เพื่อใช้ Console ของเว็บก่อนครับ
10. ในขั้นตอนนี้เราไม่ต้องเปลี่ยนแปลงอะไรครับ ให้ใช้ภาษาของเค้าไปเลยง่ายที่สุด เพราะเราแทบไม่ต้องใช้ ภาษาไทยเลยครับ
11. กด Install now
12. กดคลิกที่ I don’t have a product key
13. จากนั้นเลือก Windows Server ที่เราต้องการ ในที่นี้เลือก Windows Server Standard
14. จากนั้นกด I accept the license terms
15. เลือกเมนู Custom: Install Windows only (advanced)
16. กด Next เพื่อติดตั้ง
17. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้เรากดหนด Password เพื่อใช้ Login ตอน Remote
18. เมื่อติดตั้งเสร็จแล้วให้กดปุ่มที่คีย์บอร์ด Ctrl+Alt+Delete พร้อม ๆ กันครับ จากนั้น Login เข้า Windows Server
19. เมื่อมาถึงขั้นตอนนี้ให้เรากด Yes หากมีการถามว่าจะเชื่อมต่อ internet มั้ย
20. ให้ไปตั้งค่าที่ Remote Desktop ตั้งเป็น Enabled เพื่อเปิดให้โปรแกรมจากภายนอก Remote เข้ามาได้ครับ จากนั้นปิดตัว View Console ไปได้เลยครับ
21. ให้เราหาโปรแกรมที่มีชื่อว่า Remote Desktop Connection ซึ่งมีกันทุกคนอยู่แล้วครับ หากหาไม่เจอให้กดที่ Search ที่ Start เมนูของ Windows ก็ได้ครับ จากนั้นใส่ IP ของ Server ของเรา แล้ว Username ซึ่งทุกคนน่าจะถูกกำหนดเป็น Administrator ครับ
22. ก่อนจะกด Connect ให้เราไปตั้งค่าสักนิดนึงครับ ให้เราไปที่แถบ Experience จากนั้นตั้งค่าตามรูปเลยครับ มันจะช่วยให้เวลาเรา Remote เข้าไป Server จะทำงานไม่หนักมากครับ จากนั้นกด Connect แล้วใส่ Password ที่ตั้งไว้ เป็นอันเสร็จสิ้น